การตรวจคุณภาพงานก่อสร้าง (QC.)


ขอบเขตงานของสถาปนิกและวิศวกร นอกเหนือจากงานออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างแล้ว การตรวคุณภาพ (QC) ในปัจจุบันเราปฏิเสธไม่ได้ว่าในงานก่อสร้างจะต้องมีการควบคุมคุณภาพเช่นเดียวกับระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม และได้เกิดหน้าที่ตรวจคุณภาพงานก่อสร้างในหน่วยงานต่างๆ รวมไปถึงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และอาชีพที่ปรึกษารับจ้างตรวจรับบ้าน-คอนโด สอดคล้องตามปริมาณการผลิตรองรับเมืองที่เติบโตขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเร่งการผลิต จำนวนการผลิตมากย่อมเกิดการตกหล่นและไม่ได้คุณภาพได้ เนื่องจากงานบางส่วนทำด้วยมือ และฝีมือช่างที่หลากหลายระดับความสามารถ 
 
ทั้งนี้การตรวจคุณภาพ คือ “การตรวจและทดสอบการใช้งาน ให้ได้คุณภาพเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ถูกต้อง” และรวมถึงเพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างผู้ที่ส่งงานและผู้ตรวจสอบ ให้สามารถลดปัญหาการแก้ไขงานซ้ำซ้อน สร้างความพึงพอใจกับเจ้าของหรือลูกค้าเมื่อตรวจรับมอบ และเข้าใช้อาคารแล้ว...
 
บทความนี้ผมนำข้อมูลที่ใช้ในการทำงานด้านควบคุมคุณภาพโดยเฉพาะขั้นตอนงานสถาปัตย์ สำหรับงานบ้านและคอนโดฯ มาแชร์กัน ครับ โดยหลักการตรวจคุณภาพให้ได้ประสิทธิภาพนั้น มี 2 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้
 
1. วิธีการทำงาน และข้อปฎิบัติในการตรวจคุณภาพ
 
 
การวางแผนการทำงานถือว่าสำคัญมากเพราะสร้างความชัดเจนระหว่างฝ่าย ไม่เสียเวลาในการเข้าตรวจ สามารถกำหนดจำนวนผู้ตรวจให้สอดคล้องกับงานได้อย่างเหมาะสม และควบคุมเวลาให้เป็นไปตามแผนได้
 
 
 
การตรวจคุณภาพงานก่อสร้างแบบ 5 ขั้นตอน เป็นการตรวจโดยละเอียดนิยมปฎิบัตในบริษัทพัฒนาอังหาริมทรัพย์ โดยส่งผู้ตรวจสอบจากส่วนกลางเข้าตรวจตามโครงการต่างๆ ซึ่งประสานงาน (Request) มาจากส่วนก่อสร้างที่จะต้องเตรียมความพร้อมในการส่งตรวจ การปฎิบัติจะเรียกเข้าตรวจในขั้นตอนรอยต่องานต่างๆ ก่อนการปิดทับ วัสดุก่อสร้าง ดังนี้
 
QC1 ตรวจสอบระบบท่อต่างๆ ก่อนการปิดทับแผ่นพื้น หรือพื้นหล่อในที่ชั้นล่าง (บางหน่วยงานจบที่งานเสาเข็ม)
QC2 ตรวจสอบความถูกต้องโครงสร้าง แนวผนัง ระบบและท่อต่างๆ (บางหน่วยงานจบที่งานปิดพื้นชั้นล่าง)
QC3 ตรวจสอบ การก่ออิฐ ระบบและท่อต่างๆ ก่อนการฉาบปูน ระบบต่างๆท่อใต้ฝ้า การรั่วซึม ท้องพื้นคอนกรีตห้องน้ำ ขังน้ำก่อนการปูกระเบื้อง ในชั้นต่างๆ
QC4 ตรวจสอบการติดอุปกรณ์ต่างๆ, วัสดุผิวพื้น-ผนัง, ระบบต่างๆ ก่อนการปิดฝ้าเพดานหลังคาหรือชั้นสุดท้าย, ทดสอบการรั่วซึมและขังน้ำหลังคาคอนกรีต
QC5 (FINAL QC - END PRODUCT) การตรวจความสมบูรณ์ ทดสอบการใช้งาน การติดตั้ง ความสวยงาม ทุกอย่าง เสมือนส่งลูกค้าเข้าตรวจรับ
QC PASS (ผลการตรวจผ่าน)
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ขั้นตอนการทำงานในองค์กร เช่นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ได้จัดจ้างผู้รับเหมาก่อสร้างอาคาร และตัวแทนหรือส่วนควบคุมการก่อสร้าง(CM)แล้ว จำเป็นต้องมีส่วนควบคุมคุณภาพ(QC) เพื่อตรวจสอบซ้ำ(Double check) ให้งานเป็นไปตามมาตรฐานของบริษัทด้วย ก่อนส่งลูกค้าตรวจรับ โดยจะตรวจแบบละเอียด 5 ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง หรือตรวจสุดท้ายตอนอาคารเสร็จ ก็แล้วแต่แนวการวางแผนควบคุมงาน
 
ส่วนต่อมาเป็นการตรวจสอบโดยลูกค้าตรวจรับ อาจตรวจโดยเจ้าของ ตัวแทน หรือจ้างบริษัทตรวจบ้านและคอนโด หากมีรายการบกพร่อง (Defect) ให้พิจารณารายการตามความหนักเบา  2 ระดับ ดังนี้
 
1. ระดับยอมรับไม่ได้ เช่น งานบกพร่องจากการติดตั้งไม่ครบถ้วน, ส่งผลต่อความปลอดภัย, ส่งผลต่อส่วนที่จะต้องใช้สอย (Function defect), งานระบบต่างๆ งานระบบน้ำรั่วซึม ระบบไฟฟ้าไม่ติด, ระยะหรือพื้นที่ขาดหายมากๆ เกิน 5% เป็นต้น
 
2. ระดับพอยอมรับได้ เช่น งานสี, ความสะอาด, การติดตั้ง ผิวหรือรอยต่อวัสดุ, งานสวน หญ้าและต้นไม้ยังไม่สมบูรณ์ เป็นต้น
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
2. เกณฑ์การตรวจคุณภาพงาน
 
เพื่อความชัดเจนในการตรวจสอบคุณภาพงานก่อสร้าง การทำงานของช่าง และผู้ควบคุมงาน ซึ่งเข้าใจว่าทุกส่วนงานย่อมมีการคลาดเคลื่อน และเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการตรวจ จึงกำหนดค่าต่างๆ ที่ยอมรับได้เป็นแนวทางปฎิบัติ ดังนี้
 
ตัวอย่างเกณฑ์มาตรฐานงานก่อสร้าง
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 ตรวจสอบการรั่วซึมระบบท่อและการติดตั้งสุขภัณฑ์
 
 
 ตรวจสอบทิศทางการเปิดสวิซต์ ปลั๊ก ดวงโคม และอุปกรณ์ไฟฟ้า
 
 
ตรวจสอบสายไฟครบถ้วน ความสมบูรณ์ของวงจร และระบบกันดูด
 
 
หมายเหตุ; เกณฑ์ต่างๆ ในการตรวจคุณภาพอาจเป็นไปตามมาตรฐานหน่วยงานนั้นๆ
 
สุดท้ายนี้ผลของการตรวจสอบคุณภาพเพื่อให้เกิดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ลดข้อบกพร่องหลัก สร้างความพึงพอใจคนส่วนใหญ่ ซึ่งสาเหตุหลักที่ส่งผลให้คุณภาพบกพร่อง เช่น ฝีมือช่างในระดับที่สามารถทำได้อาจยังมีข้อจำกัดจากการทำงาน, การตรวจและควบคุมงานตกหล่น, แบบก่อสร้างไม่ชัดเจน, ความคลาดเคลื่อนจากคนทำ, เทคนิคการก่อสร้างข้อจำกัดวัสดุอุปกรณ์ และอื่นๆ

ขอบคุณครับ
rin_arch
เครดิตภาพ และข้อมูล QC NP