การออกแบบโรงแรม (Hotel design)


โรงแรม (Hotel) จัดเป็นอาคารสาธารณะ ที่ผู้ออกแบบต้องให้ความสำคัญในการออกแบบเป็นพิเศษ โดยหลักการออกแบบมีข้อพิจารณา ดังนี้

1. ประเภทของโรงแรม
1.1 โรงแรมกลางเมือง (City hotel) คือโรงแรมในเมืองหลวงหรือย่านธุรกิจที่พื้นที่จำกัดหรือเป็นอาคารสูง เน้นการมาเข้าพักเพื่อติดต่อธุรกิจ ลักษณะห้องพักสะดวกสบายไม่เน้นระเบียง พื้นที่ห้องเท่าที่จำเป็น และให้ความสำคัญกับห้องประชุมสัมนา, Executive Lounge, Signager restaurant และอื่นๆ

 


 

1.2 โรงแรมท่าอากาศยาน (Airport hotel) คือโรงแรมบริเวณท่าอากาศยาน จากการรอเที่ยวบินหรือที่เกี่ยวข้อง ลักษณะพิเศษการออกแบบห้องพักให้เข้าพักสะดวก กันเสียงรบกวนจากเครื่องบิน ตัวอาคารไม่สูงมากนัก โดยทั่วไปจะออกแบบห้องพักล้อมส่วนพักผ่อนส่วนกลาง สวนหรือสระว่ายน้ำ นอกจากลูกค้าเป็นกลุ่มผู้โดยสารแล้ว ต้องเน้นตอบสนองพนักงานหรือลูกเรือที่ใช้บริการบ่อยครั้ง

  

 

1.3 โรงแรมหรือรีสอร์ท (Hotel&Resort) คือโรงแรมหรือรีสอร์ทที่ให้บริการห้องพักที่เน้นการพักผ่อน สัมผัสธรรมชาติ เน้นการชมวิว ระเบียง สวนหรือสระว่ายน้ำ เน้นอาคารกระจายแนวราบ และมีจุดดึงดูดที่สำคัญ เช่น ทะเล ภูเขา แม่น้ำ เป็นต้น

 

    
1.4 โรงแรมม่านรูด (Motel) คือโรงแรมที่พักผ่อนช่วงสั้นในต่างประเทศมักอยู่ชานเมืองจากการเดินทางข้ามเมือง สาเหตุที่ภาษาไทยเรียกม่านรูดจากการจอดรถแล้ว พนักงานจะรูดม่านเพื่อเก็บรถไม่ให้เห็น อีกนัยหนึ่งว่าต้องการความเป็นส่วนตัว เน้นห้องพักที่มิดชิดเป็นสัดส่วน หรือการสร้างสีสันตามแนวคิด

 

1.5 โรงแรมพักรวมชั่วคราว (Hostel) คือโรงแรมกลุ่มแนวใหม่ที่เกิดขึ้นจากการท่องเที่ยวแบบประหยัด มักอยู่ในเขตเมืองหลวงหรือเมืองท่องเที่ยว แบบพักรวมได้โดยไม่รู้จักกันอาจมี 4 นอนเตียงซ้อน ห้องน้ำรวม การออกแบบส่วนกลางง่ายๆ

  

 

1.6 โฮมสเตย์ (homestay) คือการเปิดบ้านต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยมีเสน่ห์ ตามธรรมชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม พื้นที่นั้นๆ
อื่นๆ 

 

2. การออกแบบประโยชน์ใช้สอย
2.1 ระดับของโรงแรม ถูกแบ่งโดยใช้ ดาว เช่น โรงแรมห้าดาว มีความหรูหราทั้งในส่วนห้องพัก วัสดุ ขนาดห้อง เฟอร์นิเจอร์และสุขภัณ์
ส่วนกลางมีสัดส่วนพื้นที่ และการให้บริการ ที่มีความสะดวกสะบายหรูหราสวยงามรวมถึงความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ซึ่งส่งผลต่อราคาค่าก่อสร้าง
โดยทั่วไปประมาณราคาง่ายๆ ตามจำนวนห้อง x ระดับดาวละ 1ล้านบาท = ค่าก่อสร้างรวม เช่น 100ห้องx(5ดาวx1,000,000=5,000,000)=ค่าก่อสร้าง 500,000,000 บาท
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของโรงแรมด้วยว่าจะให้ความสำคัญกับส่วนใหน

 

2.2 องค์ประกอบหลักของโรงแรม

2.2.1 ห้องพัก (Guestroom)

  


   


   


  

 

  - เฟอร์นิเจอร์

   

  

 

  - ห้องน้ำและสุขภัณฑ์

  - ระเบียง

 

  2.2.2 ส่วนสนับสนุนโรงแรม (Facility)

 

 


 

- เค้าน์เตอร์ต้อนรับและบริการส่วนหน้า (Front desk & Reception)

   

 

 - โถงต้อนรับ (Lobby)

   


 

 - โถงบุฟฟ่ (Buffet, All day dining area)

 

  

 

-  บาร์บริเวณโถง (Lobby lounge)

 


- ห้องจัดเลี้ยงและประชุม สัมนา (Banquet room& Conference room)
  

 

  

  


 

- ร้านอาหาร (Restaurant)

  


 

- ร้านค้าให้เช่า (Retail shop)
- ส่วนสุขภาพและสปา (health club & Spa)
  
- สระว่ายน้ำ (Swimming pool)

 


- บาร์ริมสระว่ายน้ำ (Pool bar)

    


 

- สวนและส่วนพักผ่อน (Park & garden)

  

 

- ท่าเทียบรถ (Drop off)

  

2.4 ส่วนบริการ (Back of the house)
- สำนักงานส่วนหน้า (Front office)
- สำนักงาน (Back office)
- ห้องน้ำ และแต่งตัว (Staff &Locker)
- แม่บ้าน (Housekeeping)
- ซักรีด (Laundry)
- ครัว (Main kitchen)
- เตรียมอาหาร (Preparation kitchen)
- ห้องเก็บของ (Storage)
- ห้องเก็บกระเป๋า (Luggage stor)
- ส่วนพักขยะ (Garbage)
 

2.5 ส่วนอื่นๆ (ตอบสนองคนพิการ)
- ทางลาดสำหรับรถเข็น และลิฟท์เพื่อคนพิการ
- ผิวทางเดินเพื่อคนพิการ
- ระบบสัมผัสและเสียงเพื่อคนพิการ
- ห้องน้ำคนพิการ

  

3. การสร้างเสน่ห์ และจุดน่าสนใจ

 


 

- การกำหนดแนวความคิดในการออกแบบ
- การสร้างสัญลักษณ์
- ชื่อ และโลโก้
- บรรยากาศ

   

   

4. การศึกษาทางด้านข้อกฎหมาย
4.1 ข้อพิจารณาด้านกฎหมายและเทศบัญญัติ
- อาคารโรงแรมเข้าข่ายอยู่ในกลุ่มประเภทอาคารสาธารณะ
- เป็นอาคารที่ต้องขออนุญาตเปิดใช้อาคาร
- เป็นอาคารที่จะต้องจัดให้มีที่จอดรถ หากที่จอดรถเกิน 300 คันต้องขอกับทางจราจรและบรรเทาสาธารณภัย
- เป็นอาคารที่จะต้องจัดให้มีที่จอดรถโดยการคิดที่จอดรถจากปริมาณห้องพัก
สำหรับห้องพักไม่เกิน 100 ห้อง 30ห้องแรกคิด 10 คัน ส่วนที่เหลือคิด5ห้องต่อ1คัน แล้วนำมารวมกัน
สำหรับห้องพักเกิน 100 ห้อง 100ห้องแรกคิด10 คัน ส่วนที่เกินคิด 10 ห้องต่อ1คัน แล้วนำมารวมกัน
ทั้งนี้การคิดปริมาณที่จอดรถรวมทั้งโครงการมีหลักการคิดเพื่อเปรียบเทียบได้ 2 วิธี
วิธีที่ 1 คิดแยกตามประเภทใช้งานมารวมกัน เช่น แยกห้องพัก ภัตตาคาร ห้องประชุม และอื่นๆ
วิธีที่ 2 คิดตามอาคารขนาดใหญ่หากพื้นที่อาคารรวมเกิน 2,000 ตารางเมตร สูงเกิน 15 เมตร
หรือพื้นที่ชั้นหนึ่งชั้นใดเกิน 1,000 ตารางเมตร โดยเข้าข่ายใด ให้คิดจำนวนที่จอดรถจากพื้นจากที่ใช้สอย 120 ตารางเมตรต่อ 1 คัน
โดยอาจไม่รวมพื้นที่ที่ไม่ได้ใช้งาน เช่น หลังคา ถังน้ำ ระบบบำบัด ที่วางแอร์ เป็นต้น
ทั้งนี้ถ้าเปรียบเทียบแล้ววิธีใดได้ตัวเลขมากกว่าให้ใช้วิธีนั้น
- ในกรณีที่อาคารมีห้องชุดเกิน 80 ห้อง จะต้องขออุนญาตสิ่งแวดล้อม (EIA)
- ถ้ามีพื้นที่ใช้สอยเกิน 2,000 ตารางเมตร และสูงเกิน 15 เมตร ถือเป็นอาคารขนาดใหญ่
- ถ้ามีความสูงเกิน 23 เมตร ถือว่าเป็นอาคารสูง
- ถ้ามีพื้นที่ใช้สอยเกิน 10,000 ตารางเมตร ถือเป็นอาคารขนาดใหญ่พิเศษ
- และเป็นอาคารที่จะต้องขอเปิดการใช้อาคาร
- ความปลอดภัยและการหนีไฟ
ทางเดินกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ระยะจากประตูห้องสุดท้ายถึงบันไดหนีไฟไม่น้อยกว่า 10 เมตร
โดยจะต้องมีบันไดหลักและบันไดหนีไฟกรณีเข้าข่ายอาคารขนาดใหญ่หรืออาคารสูง
ระยะห่างบันไดหลักไม่เกิน 40 เมตร และบันไดหนีไฟไม่เกิน 60 เมตร โดยบันไดหลักกว้าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และบันไดหนีไฟกว้างไม่น้อยกว่า 0.90 เมตร ทั้งนี้สามารถกำหนดบันไดหนีไฟและใช้งานเป็นบันไดหนีไฟ 2 ตัวแทนได้ โดยระยะกว้างไม่น้อยกว่า 1.2 เมตร

  

5. งานวิศวกรรมและงานระบบที่เกี่ยวข้อง
- ระบบโครงสร้าง
- ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
- ระบบน้ำร้อนน้ำเย็น
- ระบบบำบัดน้ำเสีย
- ระบบปรับอากาศ
- ระบบสื่อสาร โทรศัพท์และเสียงตามสาย
- การซ่อมบำรุงและการดูแลรักษา

 

 โดยข้อมูลประกอบการออกแบบ มีอีกหลายส่วนในเบื้องต้นขอนำเสนอโดยภาพรวม เพียงแค่นี้ก่อน ซึ่งจะนำเสนอในรายละเอียดแต่ละส่วนต่อไป

  

ขอบคุณครับ

rin_arch

 

เครดิตรูปโรงแรมโนโวเทล ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และอื่นๆ