การต่อเติมบ้าน


การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล ย่อมส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนของการดำเนินชีวิต เราคงปฏิเสทไม่ได้ว่าปัจจัยที่อยู่อาศัยยังถือเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยช่วงนี้ผมจะเจองานออกแบบต่อเติมบ้านจากลูกค้าค่อนข้างหลายงานอยู่ ซึ่งแผนงานก็อยากให้เสร็จงาน ประมาณปีใหม่ ซึ่งถือโอกาศเขียนเป็นบทความเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน

 

ขั้นตอนการต่อเติมบ้าน
ขั้นที่ 1 คุยกันให้จบภายในครอบครัวเพื่อกำหนดแนวความคิด
ขั้นที่ 2 ปรึกษาคนที่มีความรู้ เช่น สถาปนิก วิศวกกร (หากอยากลดปัญหา)
ขั้นที่ 3 สรุปแนวคิด เขียนแบบ เตรียมเอกสาร ขออนุญาติให้ถูกต้อง (ถ้าขนาดงานและพื้นที่เข้าข่าย)
ขั้นที่ 4 เรียกผู้รับเหมามาเสนอราคาและคัดเลือกผู้รับเหมา โดยให้ผูออกแบบรับทราบ จะให้คำแนะนำท่านได้
ขั้นที่ 5 ได้ใบอนุญาติ เริ่มงานก่อสร้าง มีปัญหาอะไรปรึกษาผู้ออกแบบและให้ผู้ออกแบบมารับทราบ ก่อนการเบิกงวดงาน และตรวจรับงาน

 

ข้อที่ควรคำนึงถึงการต่อเติมบ้าน
1. ต้องการพื้นที่ใช้สอยอะไรจากส่วนนที่ต่อเติม (จำเป็นแค่ไหนคุ้มค่าหรือไม่) เพราะการต่อเติมหากไม่ได้วางแผนไว้แต่แรกย่อมมีผลกระทบแน่นอน แต่เพียงผลดังกล่าวมีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งพอคิดหลายๆ ด้าน อาจกลับมาที่เดิมก็เป็นได้ การต่อเติมที่เป็นเรื่องเป็นราวผมแนะนำให้ปรึกษาสถาปนิกหรือวิศวกรโครงสร้าง จะช่วยชี้ปัญหาให้เห็นตั้งแต่ต้นซึ่งประกอบไปด้วยเรื่องที่จะกล่าวต่อไป...

 

2. ดูข้อจำกัดการต่อเติมว่ามีที่ดินเพียงพอในกรณีขยายในแนวราบ
  (หรือขยายในแนวดิ่งซ้อนชั้นดูโครงสร้างว่ารับน้ำหนักได้) ตรงนี้สำคัญครับเพราะเราต้องมีพื้นที่ในการก่อสร้าง รวมถึงการเว้นจากแนวเขตที่ดินข้างเคียง มีวิธีคิดง่ายๆ นะครับ ถ้า
ต่อเติมอาคาร 1-2  และมีช่องหน้าต่างด้านดังกล่าว ต้องเว้นอย่างน้อย 2 เมตร

ต่อเติมอาคาร 1-3 ชั้นและผนังทึบไม่มีช่องหน้าต่างด้านดังกล่าว ต้องเว้นอย่างน้อย1เมตร

ต่อเติมอาคาร 3 ชั้น และมีช่องหน้าต่างด้านดังกล่าว ต้องเว้นอย่างน้อย 3 เมตร

กรณีสุดท้ายถ้าคุณต้องการสร้างเต็มพื้นที่ อย่างน้อยสุดต้องเว้นระยะจากที่ดิน 0.5-1เมตร และห้ามเจาะช่องหน้าต่างด้านดังกล่าว โดยถ้าดูข้อกฎหมายโดยละเอียดจะกำหนดความสูงอาคาร, ระยะอาคารเดิม-ใหม่ในที่ดินเจ้าของเดียวกัน, การสร้างชิดแนวที่ดินข้างเคียงต้องยินยอม จึงต้องเว้นอย่างน้อย 0.5 เมตร สำหรับกรณีที่อาคารพักอาศัยพื้นที่ไม่เกิน 300 ตรม. แต่ถ้าเกินต้องเว้นอย่างน้อย 1.00 เมตร  (มาดูว่าทำไมต้องเว้นในข้อต่อไป)

 

3. จากข้อที่ 2 ต้องศึกษา กฏหมาย(พรบ.) โดยเฉพาะระยะการเว้นจากแนวเขตที่ดิน และความรู้ด้านวิศวกรรมโครงสร้าง
เนื่องจากกฏหมายกำหนดให้อาคารที่ปลูกสร้างต้องเว้นระยะห่างจากที่ดินตามชนนิดอาคารและความสูง(จำนวนชั้น) เพื่อเหตุผลด้านสุขลักษณะที่ดี สิ่งแวดล้อม การลุกรามไฟกรณ๊ไฟไหม้ รวมถึงปัญหาระหว่างก่อสร้างส่งผลต่อที่ดินข้างเคียง
การต่อเติมอาคารจะต้องขออนุญาติปลูกส้รางต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นของคุณ (อบต. สำนักงานเขต เทศบาล กทม.)ต้องมีแบบแปลน ( สำเนา 5 ชุด) ซึ่งแสดงแนวอาคารเดิมอ้างอิงในที่ดิน โฉนดที่ดิน ออกแบบโดยสถาปนิกหรือวิศวกรพร้อมลงนามแนบสำเนาใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ พร้อมข้อมูลของท่านเจ้าของบ้าน กรอกแบบฟอร์มขออนุญาติดัดแปลงต่อเติม

 

4. มีงบประมาณแค่ไหน (ให้คำนึงถึงราคาที่เสียไปและสิ่งที่จะได้มาเปรียบเทียบกัน)
โดยการทำงานต่อเติมถือว่ายุ่งยากกว่าการทำใหม่หรือรื้อทิ้ง โดยทั่วไปการคิดค่าใช้จ่ายอาจจะแพงขึ้นมาอีกนิด1.5 เท่า เพราะต้องศึกษาของเดิมด้วยและรวมกับของใหม่ โดยทั่วไปคิดง่ายๆ ก็ดูว่าเราต้องการพื้นที่เพิ่มอีกกี่ตารางเมต ก็คูณด้วย 10,000 ตัวเลขอาจเปลี่ยนแปลงตามรายละเอียดงานดังนี้

10,0000 บาท/ตารางเมตร ต่อเติมง่ายๆ เช่น เทพื้นคอนกรีตที่จอดรถ ครัวหลังบ้าน โครงหลังคาเหล็กเบาๆ

12,000 บาท/ตารางเมตร ต่อเติมปานกลางวัสดุทั่วไป มีผนัง มีหน้าต่าง มีหลังคาโครงสร้างและวัสดุมุงไม่หนักมาก

15,000 บาท/ตารางเมตร ต่อเติมเป็นเรื่องราว มีโครงสร้างเข็ม-ฐานราก คาน พื้น ผนัง หลังคา ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำประปาและน้ำทิ้งหรือห้องน้ำ วัสดุโดยรวมเกรดปานกลาง-ดี

 

เกินกว่า 12,000บาท/ตารางเมตร มีครบ และแพงที่วัสดุแล้วครับ
ทั้งนี้ราคาดังกล่าวเป็นข้อมูลในการประมาณเบื้องต้น เราต้องให้ผู้รับเหมาเสนอมาละเอียดก่อนนะครับค่อยตัดสินใจก่อสร้าง

 

 

ภาพแสดงแนวทางการต่อเติม

 

5. ให้มองผลกระทบที่จะตามมาหลายๆ ด้าน ฯลฯ
- รูปลักษณ์อาคารโดยรวมเปลี่ยนไปทางไหน
- แดด ลม แสงสว่าง ฝนสาด มุมมอง
- โครงสร้างใหม่-เก่าและการทุดตัวที่ไม่เท่ากัน
- งานระบบที่อาจไม่สมบูณณ์ เช่น น้ำ ไฟ ท่อระบายน้ำ
- รอยรั่วและความไม่เรียบร้อยของงานก่อสร้างๆ ต่างๆ

 

สุดท้ายนี้หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชย์ต่อท่านที่กำลังคิดที่จะต่อเติมบ้านหรือกำลังหาข้อมูลไม่มากก็น้อย หากมีสงสัยหรือแสดงข้อคิดเห็นเชิญได้ครับ

 

ขอบคุณครับ
rin_arch