การเตรียมรับมือน้ำท่วมบ้าน


 

ปัญหาน้ำท่วมถือเป็นภัยธรรมชาติประเภท "อุทกภัย" และขาดการควบคุมบริหารจัดการที่เหมาะสมพอ จากปริมาณน้ำที่มากกว่าปรกติ ส่งผลให้คนเดือดร้อนในการดำเนินชีวิต
โดยมีสาเหตที่มาของแหล่งน้ำจาก 3 ที่มาหลักๆ คือ
- น้ำฝน ที่ตกตามธรรมชาติ อาจมากน้อยจะส่งผลโดยตรงต่อพื้นที่ต่างๆ ตามความสามารถในการระบายน้ำ และภูมิประเทศสูงต่ำ
- น้ำเหนือ คือน้ำที่ไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ จากการกักเก็บน้ำหรือเขื่อนต้นน้ำไหลผ่านแม่น้ำลงสู่ทะเลตามฤดูกาล
- น้ำทะเลหนุน คือระดับน้ำทะเล สูง ต่ำโดยช่วงน้ำทะเลหนุนจะส่งผลต่อการระบายน้ำ
รวมทั้งการจัดการรับมือที่ไม่มีประสิทธิภาพจะส่งผลหนักเบาต่อมนุษย์และการอยู่อาศัย

โดยถ้าแบ่งช่วงเวลา ภัยน้ำท่วมออกเป็น 3 ช่วงดังนี้
 

 1. ขั้นเตรียมใจ และเตรียมตัว
- ควรตรวจสอบข่าวสารและข้อมูลเพื่อประเมินความรุนแรง
- ตั้งสติเพื่อเตรียมรับมือ อย่าประมาท ให้ประเมินเผื่อไว้
- เตรียมรับมือป้องกันเพื่อลดความเสียหายในตัวบ้านรวมถึงความปลอดภัย
- เตรียมทางหนีทีไล่ ที่พักช่วงสั้น หรือช่วงยาว
- เตรียมพร้อมยานพาหนะ สัตว์เลี้ยง เด็กเล็ก คนป่วย คนชรา
- เงินสด ทรัพย์สิน เอกสารสำคัญ
- อื่นๆ เช่น นโยบายช่วยเหลือจากภาครัฐ หรือที่ทำงาน

 

2. ขั้นกำลังท่วม
2.1 กรณีอพยพ ควรป้องกันบ้านให้หนาแน่นเพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
- สัญญาณที่จะบอกการอพยพให้สังเกตุระดับน้ำไม่ควรสูงเกินขอบฟุตบาตทางเดินควรเตรียมตัวหรือระดับน้ำไม่เกิน 20 ซม. รถยนต์ทั่วไปสามารถฝ่าลุยน้ำได้
- ปิดทางน้ำโดยการอุดท่อระบายน้ำทิ้ง และบ่อพักที่น้ำจะเข้ามาทางท่อได้
- สร้างสิ่งป้องน้ำเข้าบ้าน เช่น ก่อผนัง กระสอบทราย หรืออื่นๆ  เพื่อลดความเสียหาย
- ปิดสวิซต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า รวมทั้งกันน้ำเข้าปลั๊กสวิซต์ ที่ระดับต่ำและมีความเสี่ยงทั้งหมด
- ยกเฟอร์นิเจอร์ลอยตัว เครื่องใช้ไฟฟ้า และสิ่งของต่างๆ ขึ้นที่สูง
- เคลื่อนย้ายรถยนต์ขึ้นที่สูง หรือหาที่จอดที่ปลอดภัย
- ปิดวาวล์น้ำประปา และปิดฝาถังน้ำสำรอง
- เตรียมเก็บของ เอกสารที่จำเป็น สัตว์เลี้ยง สมาชิกในบ้านเตรียมพร้อม และยานพาหนะเพื่อสามารถเคลื่อนย้ายได้ย่างรวดเร็วกรณีฉุกเฉิน

2.2 กรณีพักอาศัยในบ้านขณะน้ำท่วม
- ความปลอดภัยสำคัญที่สุดให้ตรวจสอบระบบไฟฟ้าทั้งหมด
- เตรียมพร้อมการป้องกันตามข้อ 2.1
- สำรองน้ำใช้ และน้ำดื่ม ถ้าเป็นไปได้ควรมีเครื่องกรองน้ำ แก๊ส เชื้อเพลิงแสงสว่าง และอื่นๆ
- เตรียมถุงยังชีพ อาหาร ยาสามัญประจำบ้าน ชุดกันน้ำ รองเท้าบูท ถุงมือยาง และเรือ
- เตรียมปั๊มน้ำ กระสอบทราย เครื่องสูบน้ำรวมถึงน้ำมันเชื้อเพลิง ควรเลี่ยงระบบไฟฟ้า
- อื่นๆ

 

3. ขั้นหลังน้ำท่วม
กรณีท่วมหนักเข้าระดับน้ำในบ้านเกิน 30 ซม. จะสูงเกินอุปกรณ์ไฟฟ้าควรดูแลระบบไฟฟ้าเป็นพิเศษ โดยจะต้องตรวจสอบ ดังนี้
- ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ปั๊มน้ำ และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยช่างผู้ชำนาญ
- ควรเก็บขยะและให้สภาพในบ้านแห้งสนิท อย่างน้อย 3-4 สัปดาห์ ก่อนการปรับปรุงไดๆ
- ตรวจสอบระบบท่อน้ำประปา ความสะอาดถังเก็บน้ำ
- ตรวจสอบท่อระบายน้ำ บ่อพักน้ำต่างๆ ถังบำบัดส้วม
- ตรวจสอบโครงสร้างอาคาร ผนังและรอยรั่วซึมต่าง
- ระวังสัตว์แมลงมีพิษร้ายตามท่อหรือซอกต่างๆ ซึ่งหนีน้ำมาเหมือนกัน

 

ขอบคุณครับ
rin_arch