การออกแบบหลังคาเพื่่อบังแดด


ปัญหาจากความร้อนและการบังแดดสู่อาคาร

 

การแก้ปัญหาการบังแดดและกันความร้อน รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีรอบอาคาร


 

หลังคาเป็นส่วนบนสุดของอาคารที่จะได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง 50 % ของความร้อนที่เข้ามาในอาคาร (ชั้นบน) จะมาทางหลังคา การปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านในแนวกว้างในตำแหน่งที่ถูกต้องเหมาะสมตามทิศทางแสงแดดจะช่วยให้ร่มเงาแก่ส่วนหลังคาได้ดีการเลือกปลูกไม้ยืนต้นที่มีรูปทรงแผ่กว้างขนาดใหญ่ ขนาดทรงพุ่ม 20 เมตร พื้นที่ใต้พุ่มสูง 8 เมตร จัดเป็นกลุ่มโดยให้เกิดเป็นเพดานพุ่มขนาดใหญ่ และพื้นที่ใต้พุ่มมากพอที่จะไม่ขวางทางลมและระบายความร้อนออกได้สะดวก ระยะห่างจากอาคารที่ยังได้รับอิทธิพลความเย็นจากต้นไม้ในช่วงที่ลมสงบ อยู่ในระยะไม่เกิน 5 เมตร

 

การกันความร้อนจากร่มเงาพื้ชพันธ์ไม้

 

ทิศทางแสงแดดตลอดทั้งปี

 

การบังแดดบริเวณผนัง
หน้าต่าง และช่องแสงของผนังอาคารทั้ง 4 ด้านเป็นจุดที่ความร้อนจากแสงแดดจะผ่านเข้ามาได้มากที่สุด รองจากบริเวณหลังคา


 

 

ผนังด้านทิศเหนือ ส่วนใหญ่แล้วด้านทิศเหนือจะได้รับร่มเงาเกือบตลอดทั้งปี โดยจะรับแดดเพียงปีละ 2 เดือนเท่านั้น คือจากเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนกรกฏาคม ผนังอาคารทางทิศนี้จึงร้อนน้อยกว่าทิศอื่น เวลาสำคัญที่ต้องการร่มเงาทางด้านทิศเหนือคือเวลาบ่าย ของวันที่ 21มิถุนายน (ฤดูร้อน)ในวันนี้ดวงอาทิตย์จะอ้อมเหนือคือ เวลาบ่ายของวันที่ 21 มิถุนายน ในวันที่ดวงอาทิตย์จะอ้อมเหนือมากที่สุด การใช้แผงบังแดดในแนวราบสำหรับหน้าต่าง หรือช่องเปิดที่อยู่ด้านนี้จะสามารถบังแดดในช่วงเที่ยง และบ่ายได้ดี และควรมีระยะยื่นของแผงบังแดดทำมุมอย่างน้อย 10 องศากับขอบล่างของหน้าต่าง

 


 

 

 

 

ผนังด้านทิศใต้ ด้านทิศใต้จะรับแดดในช่วงสายถึงบ่าย หรือเกือบตลอดทั้งวันเป็นระยะเวลาถึง 6 เดือน คือ จากเดือนกันยายน ถึงกลางเดือนมีนาคม ซึ่งทางทิศนี้จะมีช่วงที่รับความร้อนมากในตอนกลางวัน และบ่ายวันสำคัญที่ต้องทำการตรวจสอบคือวันที่ 21 ธันวาคม ซึ่งเป็นวันที่ดวงอาทิตย์อ้อมใต้มากที่สุด และมุมที่ดวงอาทิตย์ทำกับแนวดิ่งผนังอาคารจะทอดต่ำกว่าในเดือนมิถุนายนมาก แผงบังแดดที่เหมาะสม คือแผงบังแดดลักษณะเดียวกับผนังด้านทิศเหนือ และควรมีระยะยื่นของแผงบังแดดทำมุมอย่างน้อย 37 องศา ขอบล่างของหน้าต่างจะเห็นว่าถ้ามุมยิ่งมากยิ่งต้องใช้แผงบังแดดที่มีระยะยื่นที่ยาวมากด้วย หรือกล่าวได้ว่า ถ้าต้องการป้องกันลำแสงตรงตกกระทบหน้าต่างตลอดทั้งวัน (8.00 -16.00 น.) ต้องใช้ระยะ ยื่นที่ยาวมาก ซึ่งแก้ไขได้ด้วยการหักมุมแผงบังแดดลง

 

 

ผนังด้านทิศตะวันออก และทิศตะวันตก ด้านทิศตะวันออก และตะวันตกจะรับแสงแดดมากในตอนเช้า และบ่าย เนื่องจากมุมของแสงแดดทอดต่ำ ทั้งสองทิศนี้จึงป้องกันแดดได้ยาก ด้านทิศตะวันออกของอาคารจะรับแดดในช่วงเช้า ตลอดทั้งปีจะร้อนมากขึ้นในช่วงสาย และเย็นลงในตอนเย็น ที่สำคัญที่สุด คืออาคารด้านทิศตะวันตก ซึ่งได้รับแสงแดดในช่วงบ่ายตลอดทั้งปี เป็นด้านที่จะมีความร้อนสูงมากที่สุด ในแต่ละวัน และเป็นทิศที่มีเฉพาะแสงแดด และความร้อนเท่านั้น ไม่ได้อยู่ในทิศทางที่ลมจะพัดผ่าน ดังนั้นควรเปิดช่องแสงแต่ที่จำเป็นให้น้อยที่สุด การใช้แผงบังแดดในแนวตั้งจะช่วยป้องกันแสงแดดในช่วงเช้า และเย็นได้นอกจากวิธีการบังแดดโดยใช้อุปกรณ์บังแดดตามวิธีที่ได้กล่าวมาแล้ว การพิจารณาสภาพแวดล้อมของที่ตั้งอาคารก็มีส่วนสำคัญในการปรับสภาพความเย็นภายในอาคารสภาพ ภูมิอากาศบริเวณอาคาร ( Micro-Climate ) และลักษณะที่ตั้ง เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการวางผัง และกลุ่มอาคาร พืชพรรณไม้ที่มีอยู่เดิม จะต้องนำมาวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้ง คุณสมบัติ และลักษณะต่าง ๆ ของต้นไม้ ก่อนที่จะพิจารณาถึงอุปกรณ์บังแดดอื่น ๆ ต่อไป พืชพรรณๆไม้เหล่านี้มีผลกระทบกับความสบาย ตามธรรมชาติภายในอาคาร ทั้งการเพิ่มและลดความร้อนให้กับอากาศในบริเวณส่วนประกอบของที่ตั้ง ( Site Element ) เป็นส่วนช่วยปรับแต่สภาวะแวดล้อมบริเวณอาคาร

 

เอกสารอ้างอิง
Patcharin Maneerat "A MODEL OF SINGLE HOUSE RENOVATION FOR ENERGY CONSERVATION  BY NATURAL VENTILATION
 CASE STUDY :  A HOUSING PROJECT IN OUTER BANGKOK AREA.",  A Thesis Submitted for the Degree of Master Architecture in Tropical Architecture, King mongkut’s Institute of Technology Ladkrabang, 2002 : pp.48-50.

 

ขอบคุณครับ
rin_arch